Skip to content

Co-operative Education & Engineering Practice

Loading...

สหกิจศึกษา

          คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการตอบรับว่าเป็นสถานศึกษาที่เน้นการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ มีความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป  ซึ่งตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  มหาวิทยาลัยฯ  จึงได้จัดให้มีโครงการสหกิจศึกษาและฝึกงานทางวิศวกรรมขึ้น โดยเริ่มต้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยจัดการศึกษาในระบบทวิภาค ด้วยแนวคิด มุมมอง และการวางแผน เพื่อให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

สหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Co-operative Education)  เป็นแผนการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยนำเอาวิชาการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ที่ได้ศึกษามาแล้วนำไปปฏิบัติในสถานประกอบการ ทำให้สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงาน มีคุณภาพตรงกับที่สถานประกอบการต้องการ และเพื่อเป็นให้เกิดความร่วมมือ และเผยแพร่เกียรติคุณของคณะวิศวกรรมศาสตร์แก่หน่วยงานภายนอก

สหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Co-operative Education) เป็นการจัดให้มีการผสมผสาน การเรียนของนักศึกษาในสถานศึกษา ให้เข้ากับการหาประสบการณ์จริง จากการทำงานในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฎิบัติงานในสถานประกอบการ  ในฐานะพนักงานเต็มเวลา  เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision)       “คณะวิศวกรรมศาสตร์  มุ่งผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์นักปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีมีคุณภาพและคุณธรรมและมุ่งพัฒนา  สู่ความเป็นมาตรฐานสากล

นโยบายคุณภาพ

นโยบายคุณภาพ    เรามุ่งจัดการศึกษาวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตอบสนองความพอใจของผู้รับบริการ  ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Newsflash

Default screen resolution  Wide screen resolution  Increase font size  Decrease font size  Default font size 
You are here:    หน้าหลัก arrow วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พิมพ์

          หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมวิชาการทางด้านการสร้างและประยุกต์ใช้งานเครื่องอิเล็กโทรนิกส์คอมพิวเตอร์ ครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโครงสร้าง และการสังเคราะห์ส่วนทำงาน ของระบบคอมพิวเตอร์ สอนเน้นการสร้าง และประยุกต์ส่วนทำงาน ในสี่แง่มุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็นสี่แขนงวิชาดังนี้
ก)  แขนงวิชาระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware Computer )
ข)   แขนงวิชาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Software Computer )
ค)  แขนงวิชาระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายและสื่อสารข้อมูล (Computer Network and Data Communication System)
 ง)  แขนงวิชาระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมและประมวลผลสัญญาณ (Computer Control and Signal Processing System)

            เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้แล้ว นักศึกษาจะได้รับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง และประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตามแขนงวิชาที่ได้เรียนมา ครอบคลุมถึงหน้าที่ นักวิเคราะห์ระบบซอฟท์แวร์ นักออกแบบระบบซอฟท์แวร์ นักโปรแกรมระบบซอฟท์แวร์ วิศวกรออกแบบระบบควบคุม ผู้จัดการระบบควบคุม ผู้จัดการระบบเครือข่าย นักออกแบบและติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต ผู้จัดการระบบอินเตอร์เน็ต วิศวกรฝ่ายขาย วิศวกรฝ่ายบริการ(ติดตั้ง และตรวจซ่อม) นักออกแบบวงจรประมวลรวม นักพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์ นักพัฒนาระบบเครือข่าย นักพัฒนาระบบควบคุม นักพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร นักพัฒนาระบบการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยนักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรผู้สร้างโปรแกรมขนาดใหญ่ เป็นต้น

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >