Skip to content

Co-operative Education & Engineering Practice

Loading...

สหกิจศึกษา

          คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการตอบรับว่าเป็นสถานศึกษาที่เน้นการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ มีความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป  ซึ่งตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  มหาวิทยาลัยฯ  จึงได้จัดให้มีโครงการสหกิจศึกษาและฝึกงานทางวิศวกรรมขึ้น โดยเริ่มต้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยจัดการศึกษาในระบบทวิภาค ด้วยแนวคิด มุมมอง และการวางแผน เพื่อให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

สหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Co-operative Education)  เป็นแผนการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยนำเอาวิชาการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ที่ได้ศึกษามาแล้วนำไปปฏิบัติในสถานประกอบการ ทำให้สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงาน มีคุณภาพตรงกับที่สถานประกอบการต้องการ และเพื่อเป็นให้เกิดความร่วมมือ และเผยแพร่เกียรติคุณของคณะวิศวกรรมศาสตร์แก่หน่วยงานภายนอก

สหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Co-operative Education) เป็นการจัดให้มีการผสมผสาน การเรียนของนักศึกษาในสถานศึกษา ให้เข้ากับการหาประสบการณ์จริง จากการทำงานในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฎิบัติงานในสถานประกอบการ  ในฐานะพนักงานเต็มเวลา  เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision)       “คณะวิศวกรรมศาสตร์  มุ่งผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์นักปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีมีคุณภาพและคุณธรรมและมุ่งพัฒนา  สู่ความเป็นมาตรฐานสากล

นโยบายคุณภาพ

นโยบายคุณภาพ    เรามุ่งจัดการศึกษาวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตอบสนองความพอใจของผู้รับบริการ  ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Newsflash

Default screen resolution  Wide screen resolution  Increase font size  Decrease font size  Default font size 
You are here:    หน้าหลัก arrow วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา พิมพ์
           ภาควิชาวิศวกรรมโยธา  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  เป็นมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการสร้างวิศวกรโยธาในประเทศอีกแห่งหนึ่ง  โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความรู้เกี่ยวกับงานโยธา รวมไปถึงการปลูกฝังจิตสำนึกและจรรยาบรรณ ของการเป็นวิศวกรที่ดีให้กับนักศึกษาที่จะจบไปเป็นวิศวกรโยธาที่มีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการและงานภาคสนาม โดยเน้นกิจกรรมการสอนควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริงเพื่อก่อให้เกิดความรู้ (Knowhow) และทักษะ อันจะนำไปสู่ความรู้จริง และนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศ (Civilization)  ให้สมกับคำว่า  “ วิศวกรโยธา (Civil  Engineer) “

ลักษณะงานที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา
          
1. งานวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural and Construction Engineering) เป็นงานที่เกี่ยวกับงานโครงสร้าง และวัสดุโครงสร้าง ได้แก่ การทดสอบวัสดุในงานก่อสร้าง เช่น Reinforce Bars, Concrete, Timber เป็นต้น และยังรวมไปถึงงานวิเคราะห์และออกแบบทางวิศวกรรมโครงสร้าง การพัฒนาวัสดุในงานก่อสร้างให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขึ้นและดำเนินงานให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวัสดุวิศวกรรม
          
2. งานด้านปฐพีกลศาสตร์ (Soil Engineering) เป็นงานที่เกี่ยวกับการศึกษาคุณสมบัติต่างๆของดิน รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มคุณสมบัติของดินให้ดินมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เช่น เพิ่มความสามารถในการรับแรงของดินให้สภาพดินนั้นเหมาะแก่การปฏิบัติงาน  และสามารถใช้ประโยชน์จากดินนั้นในการก่อสร้างได้
          
3. งานด้านวิศวกรรมสำรวจและขนส่ง (Survey & Transportation) เป็นงานที่เกี่ยวกับงานโยธาโดยแท้จริง ได้แก่ งานสำรวจเส้นทาง การก่อสร้างเส้นทาง งานถนน สะพาน การทำแผนที่ เป็นต้น อันก่อให้เกิดความเจริญต่อประเทศชาติและเป็นดัชนีที่ชี้ความพัฒนาของประเทศโดยตรง
          
4. งานด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource Engineering) เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการการใช้น้ำเพื่อการดำรงชีพเป็นพื้นฐาน และปัจจุบันมีแนวโน้มความต้องการการใช้น้ำสูงขึ้น เพื่อเป็นการจัดการการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นระบบและพอเพียง ดังนั้นงานทางด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำจึงถือได้ว่าเป็นงานงานหนึ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการพัฒนาประเทศโดยตรง
 
< ก่อนหน้า