Skip to content

Co-operative Education & Engineering Practice

Loading...

สหกิจศึกษา

          คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการตอบรับว่าเป็นสถานศึกษาที่เน้นการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ มีความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป  ซึ่งตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  มหาวิทยาลัยฯ  จึงได้จัดให้มีโครงการสหกิจศึกษาและฝึกงานทางวิศวกรรมขึ้น โดยเริ่มต้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยจัดการศึกษาในระบบทวิภาค ด้วยแนวคิด มุมมอง และการวางแผน เพื่อให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

สหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Co-operative Education)  เป็นแผนการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยนำเอาวิชาการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ที่ได้ศึกษามาแล้วนำไปปฏิบัติในสถานประกอบการ ทำให้สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงาน มีคุณภาพตรงกับที่สถานประกอบการต้องการ และเพื่อเป็นให้เกิดความร่วมมือ และเผยแพร่เกียรติคุณของคณะวิศวกรรมศาสตร์แก่หน่วยงานภายนอก

สหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Co-operative Education) เป็นการจัดให้มีการผสมผสาน การเรียนของนักศึกษาในสถานศึกษา ให้เข้ากับการหาประสบการณ์จริง จากการทำงานในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฎิบัติงานในสถานประกอบการ  ในฐานะพนักงานเต็มเวลา  เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision)       “คณะวิศวกรรมศาสตร์  มุ่งผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์นักปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีมีคุณภาพและคุณธรรมและมุ่งพัฒนา  สู่ความเป็นมาตรฐานสากล

นโยบายคุณภาพ

นโยบายคุณภาพ    เรามุ่งจัดการศึกษาวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตอบสนองความพอใจของผู้รับบริการ  ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Newsflash

Default screen resolution  Wide screen resolution  Increase font size  Decrease font size  Default font size 
You are here:    หน้าหลัก arrow โครงการสหกิจศึกษา
พิมพ์

สหกิจศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

COOPERATIVE EDUCATION & ENGINEERING PRACTICE

FACULTY OF ENGINEERING RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THANYABURI

 

สหกิจศึกษา

            สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นการจัดให้มีการผสมผสาน การเรียนของนักศึกษาในสถานศึกษา ให้เข้ากับการหาประสบการณ์จริง จากการทำงานในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฎิบัติงานในสถานประกอบการ  ในฐานะพนักงานเต็มเวลา  เป็นระยะเวลา 1       ภาคการศึกษา  หรือประมาณ 16 สัปดาห์

หลักการและเหตุผล

            สหกิจศึกษา  (Cooperative Education) เป็นแผนการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้นักศึกษาได้นำเอาวิชาการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติต่างๆ ที่ได้ศึกษามาแล้วนำไปปฏิบัติในสถานประกอบการให้ได้ผลดี ทำให้บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงาน และทำให้บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์มีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์กับสถานประกอบการที่บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ได้ไปปฏิบัติอีกทั้งเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต่อบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายนอก

วัตถุประสงค์
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการทำงานจริงในสถานประกอบการ
- ศึกษาเรียนรู้เรื่องการจัดและบริหารงานในสถานประกอบการอย่างละเอียด
- ได้พบเห็นปัญหาต่างๆ ที่แท้จริงของสถานประกอบการและคิดค้นวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
- ศึกษาเกี่ยวกับบุคลากรส่วนต่าง ๆ  ของผู้ร่วมปฏิบัติงานสถานประกอบการ ทั้งด้านบุคลิกภาพหน้าที่ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน และการปฏิบัติงานเฉพาะ
- การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสถานประกอบการ การเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามที่เหมาะสม
- ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง  คณะวิศวกรรมศาสตร์  กับสถานประกอบการที่นักศึกษาได้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
- เผยแพร่ชื่อเสียงของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต่อบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายนอก

หลักสูตรสหกิจศึกษา

          ได้จัดระบบการศึกษาเพื่อเป็น  ระบบทวิภาค  โดยใน 1 ปีการศึกษาจะประกอบด้วย  2 ภาคการศึกษา    (1 ภาคการศึกษามีระยะเวลา 16 สัปดาห์) และ 1 ภาคการศึกษาสหกิจศึกษามีระยะเวลาเท่ากับ 16 สัปดาห์ หลักสูตรสหกิจศึกษามีลักษณะดังนี้

- เป็นหลักสูตรบังคับสำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ภาควิชาต้นสังกัดของนักศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าร่วมโครงการฯ

- จัดภาคการศึกษาสหกิจศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ของปีที่ 3 หรือภาคการศึกษาที่ 1 ของปีที่ 4 

- ภาคการศึกษาสหกิจศึกษามีค่าเท่ากับ 6 หน่วยกิต

- กำหนดให้นักศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา โดยจะต้องมีระยะเวลาการ ปฏิบัติงานตามที่กำหนด  ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 16 สัปดาห์

- นักศึกษาสหกิจต้องผ่านรายวิชาชีพขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่สาขาวิชากำหนด 

- นักศึกษาสหกิจต้องผ่านการเตรียมความพร้อมก่อนการออกปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง โดยงานสหกิจจัดให้มีวิชาเตรียมความพร้อมใน 1-2 ภาคการศึกษาก่อนการออกปฏิบัติงาน


งานสหกิจศึกษา (Cooperative Education Division) 
งานสหกิจศึกษา มีหน้ารับผิดชอบในการประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่สถานประกอบการ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และนักศึกษาสหกิจศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา งานสหกิจศึกษา อยู่ภายใต้การดูแลของรองคณบดีฝ่ายวิชาการ มีคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ประสาน และเจ้าหน้าที่ประสานงานของทุกภาควิชา และเจ้าหน้าที่ประสานงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
อาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา (Co-op Advisor) ทำหน้าที่ดังนี้
- ให้คำแนะนำ  เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานประกอบการ  กับนักศึกษา
- นิเทศงานและประเมินผล อย่างน้อย 2 ครั้งต่อนักศึกษา 1 คน
- ให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ  ช่วยแก้ปัญหาในการทำงาน ผ่านการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา  หรือพบปะ ร่วมปรึกษากับพนักงานที่ปรึกษา และผู้บริหารสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ 
- ให้ความเชื่อถือต่อพนักงานที่ปรึกษา ให้มีโอกาสทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่เพื่อเป็นผลดีต่อการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
- สร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีต่อคณะผู้บริหาร และผู้ร่วมงานในสถานประกอบการที่ไปนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา
- เข้าร่วมในการปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ นักศึกษาสหกิจศึกษา
- พิจารณาผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพื่อประเมินผลการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสหกิจศึกษา ตามวันและเวลาที่กำหนด

ลักษณะงานสหกิจศึกษา
- เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว   
- มีหน้าที่รับผิดชอบแน่นอน (งานมีคุณภาพ)    
- ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกร    
- ทำงานเต็มเวลา (Full Time) 
- ระยะเวลาการปฏิบัติงานเต็ม 1 ภาคการศึกษา (ประมาณ 16 สัปดาห์)